กระ คืออะไร รักษาอย่างไร

กระคืออะไร ทำไมบางคนมีกระ บางคนก็ไม่มีกระ ?
ส่องกระจกทีไรก็รู้สึกไม่มั่นใจ เพราะว่าเป็นสิ่งที่ไม่ต้องการให้เกิด เลือกไม่ได้ว่าจะมีหรือไม่มี หรือในบางทีรู้ว่าจะต้องเป็น เพราะเป็นทางพันธุกรรมป้องกันแทบทุกวิถีทางแต่ก็ยังเป็นอยู่ดี ต้นเหตุมาจากระ (Freckles) หรือความผิดปกติทางผิวหนังชนิดหนึ่งที่ใครก็เป็นได้ ยิ่งเป็นคนที่มีผิวขาวเท่าไหร่ยิ่งเห็นชัดมากขึ้นเท่านั้น อีกทั้งนอกจากกระจะขึ้นบนใบหน้าได้แล้วกระ (Freckles) ยังสามารถเป็นตามร่างกายได้เช่นกันและยังสามารถขึ้นในปริมาณที่มากได้ หากไม่ดูแลเป็นอย่างดี

กระ (Freckles) ที่เรารู้จักกันจากสิ่งที่เป็นความผิดปกติของผิวหนังชนิดหนึ่งที่ขึ้นบนใบหน้าเป็นส่วนมาก จะมีลักษณะเป็นสีน้ำตาล หลากหลายเฉด ทั้งเข้ม และอ่อน ปนๆ กันบนใบหน้าโดยจะขึ้นเด่นชัดบริเวณโหนกแก้ม จมูกนั่นเอง โดยกระ (Freckles) เป็นสิ่งที่เมื่อเกิดขึ้นแล้วหากไม่ทำการรักษาก็จะลุกลามและเพิ่มปริมาณไปเรื่อยๆ

กระ คืออะไร

กระ คืออะไร รักษาอย่างไร

ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับสภาพผิวของแต่ละบุคคล

กระ (Freckles) ที่ขึ้นตามใบหน้าและร่างกายนั้นมีหลากหลายประเภทและสามารถจำแนกประเภทของกระ (Freckles) ได้ดังนี้

1.กระตื้น Freckle
จะมีลักษณะที่มองเห็นเป็นจุดสีน้ำตาลที่มีขนาดเล็กๆ ซึ่งเรามักพบกระตื้น (Freckle) ได้ในบริเวณที่โดนแดดสัมผัสหรือกระทบได้ง่าย เช่น โหนกบริเวณแก้ม หรือจมูก สำหรับกระตื้น (Freckle) นั้นโดยส่วนมากมักจะเกิดจากการที่ เซลล์ใต้ผิวหนังในส่วนของเม็ดสีทำงานได้

กระตื้น เกิดจากเซลล์เม็ดสีใต้ผิวหนังทำงานผิดปกติ อันมีเหตุผลหลักมาจากพันธุกรรม และกรรมพันธุ์ ที่เป็นเหตุให้เซลล์เม็ดสีของบุคคลนั้นๆ มีความไวต่อแสง หรือรังสี UVA UVB กว่าปกติ จึงทำให้ในบางคนมีกระตั้งแต่เด็ก หรือไวรุ่น โดยที่ยังไม่ทันโดนปัจจัยอื่นที่เป็นสื่อให้เกิด กระตื้น (Freckle) ทั้งนี้ เมื่อเป็นกระตื้น (Freckle) บนใบหน้าหรือร่างกายแล้ว ควรได้รับการดูแลและการรักษาอย่างเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระตื้น (Freckle)  ลุกลาม กระจาย หรือทำให้มีขนาดที่ขยายใหญ่ขึ้น

2.กระลึก Hori’s nevus
มีลักษณะเป็นจุดเล็กๆ ที่กระจายหรือมีลักษณะเป็นแผ่นสีน้ำตาล หรือเทา ดำ ที่มีขอบไม่ชัด กระลึก (Hori’s nevus) จะมีลักษณะคล้ายกันกับฝ้า (Melasma) และจะมีขึ้นเป็นปริมาณมากที่ โหนกแก้ม จมูก รวมไปถึงขมับ

โดยกระลึก (Hori’s nevus) เป็นกระที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติของเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับเม็ดสีที่อยู่ในบริเวณผิวหนังชั้นหนังแท้ โดยกระลึก (Hori’s nevus) จะสามารถพบได้ตั้งแต่แรกเกิด ประกอบกับฮอร์โมนของคนเราที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นในช่วงวัยรุ่นหรือในช่วงที่ได้รับการตั้งครรภ์  ไม่ต้องรอให้โตและเมื่อถูกกระตุ้นโดยปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น รังสี UV ทั้ง UVA และ UVB ก็จะยิ่งทำให้ กระลึก (Hori’s nevus) เห็นสีที่ชัดมากยิ่งขึ้น อายุก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้กระลึก Hori’s nevus มีสีที่เข้มมากขึ้นได้เช่นกัน

3.กระเนื้อ Seborrheic keratosis
กระชนิดนี้มีลักษณะเหมือนตุ่มเล็กๆ ที่ขึ้นกระจายๆ มีสีน้ำตาลอ่อน หลายเฉดสีทั้งอ่อนเข้มปะปนกันไป สามารถพบได้ทั่วทั้งร่างกายทั้งบริเวณใบหน้า บริเวณลำคอ บริเวณหน้าอก บริเวณแผ่นหลัง กระเนื้อ (Seborrheic keratosis) เกิดจากผิวหนังชั้นหนังกำพร้า ที่มีการเจริญเติบโตจนเกินไปมากผิดปกติ ร่วมกับการเจอตัวกระตุ้นอย่าง แสงแดด รังสีต่างๆ รวมทั้งอายุที่เพิ่มมากขึ้น ก็จะทำให้เกิดกระเนื้อ (Seborrheic keratosis) ขึ้นได้ โดยกระชนิดนี้จะยิ่งมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น เมื่อเรามีอายุที่มากขึ้นด้วย

โดยกระเนื้อ (Seborrheic keratosis) จะขึ้นได้ทั้งมีขนาดใหญ่เลย และอาจขึ้นเป็นตุ่มที่มีเพียงขนาดเล็ก แล้วมีโอกาสที่จะขยายขนาดให้ใหญ่ขึ้น นูนขึ้น รวมทั้งยังมีสีของก้อนเนื้อที่เข้มขึ้นได้ในภายหลัง ซึ่งกระเนื้อ (Seborrheic keratosis) จะเป็นกระที่มีพัฒนาการในการเติบโตที่ค่อนข้างช้า โดยมีการเจริญเติบโตค่อนข้างช้า กระเนื้อ

4.กระแดด Solar Lentigos
กระชนิดนี้เป็นกระที่มีลักษณะเป็นจุดเล็กๆ หรือปื้นเรียบๆ ที่มีสีดำ ไล่ไปจนน้ำตาล มีขอบที่เห็นได้ชัดเจน โดยจะพบกระแดด (Solar Lentigos)  มักพบได้มากบริเวณที่มีการสัมผัสกับแสงแดดบ่อยครั้ง อาทิบริเวณใบหน้า บริเวณแขน หรือขา นั่นเอง

โดยกระชนิดนี้โดยส่วนมากมักเกิดกับผู้ที่มีสีผิวไปทางขาว และในผู้ที่มีอายุ

กระ คืออะไร

กระ คืออะไร รักษาอย่างไร

ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับสภาพผิวของแต่ละบุคคล

สาเหตุของการเกิดกระ (Freckles) มีหลากหลายสาเหตุคือ
1.แสงแดดทั้ง รังสี UVA และ UVB

แสงแดดเป็นสาเหตุหลักในการทำให้ผิวหนังถูกทำลาย กระ (Freckles ) ก็เกิดขึ้นจากแสงแดดได้เช่นกัน เนื่องจากแสงแดดเป็นสิ่งที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการสร้างเม็ดสีเมลานิน (Melanin pigment) โดยเมื่อร่างกายได้ทำการสร้างเม็ดสีเมลานินแล้ว ก็จะมีจุดด่างดำ หรือจุดสีต่างๆ กระจายบนใบหน้าซึ่งนั่นนับเป็นความผิดปกติของผิวอันเกิดขึ้นจากแสงแดดนั่นเอง

ไม่เพียงเช่นนั้นแสงแดดทั้ง รังสี UVA และ UVB ยังเป็นตัวการสำคัญที่จะทำให้กระ (Freckles) มีขนาดที่ใหญ่มากขึ้น มีสีที่เข้มขึ้นและกระจายตัวได้ดีขึ้น เนื่องจากรังสีจากแสงแดดนั้นเมื่อเข้าสู่ผิวจะไปทำการกระตุ้นเมลาโนไซท์ที่อยู่ใต้ชั้นผิว ให้ทำการสร้างเม็ดสี หรือเมลานินในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น จึงเห็นเป็นจุดสีน้ำตาลที่เพิ่มขึ้นบนผิว

2.แสงจากหน้าจอมือถือ แสงไฟ แสงจากทีวี
สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นนั้นมีแสงสีฟ้าในปริมาณที่มาก ซึ่งแสงสีฟ้าดังกล่าว นับเป็นตัวการสำคัญที่จะส่งผลให้เกิดปฏิกิริยาของผิวหนังและก่อให้เกิดกระ (Freckles) ขึ้น

3.ความเครียด
เนื่องจากความเครียดที่เกิดขึ้นของคนเรานั้น ส่งผลกับการสร้างฮอร์โมนในร่างกาย ทั้งทำให้เกิดอารมณ์แปรปรวน ทำให้ฮอร์โมนที่เกิดขึ้นไม่สมดุลและทำให้เกิดการสะสมของเมลานิน จึงส่งผลให้เป็นกระ (Freckles) นั่นเอง

4.ฮอร์โมน
จากการวิจัย เพศหญิงมักมีกระมากกว่าเพศชาย เนื่องจากในร่างกายของเพศหญิงนั้น จะมีฮอร์โมนเพศหญิงอย่างเอสโตรเจน และโพรเจสเทอโรนอยู่ ในกรณีนี้ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของต่อมไขมัน จึงทำให้เกิดกระ (Freckles) ขึ้นบนใบหน้าได้

5.พันธุกรรม
เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยว่าหากพ่อ หรือแม่เป็นกระ (Freckles)  แล้วเราจะเป็นโดยกรณีนี้พันธุกรรมก็ขึ้นอยู่กับชาติพันธุ์ เชื้อชาติและภูมิหลังของแต่ละคน จึงส่งผลให้เกิดกระ (Freckles) ได้ตามชาติกำเนิด

กระ (Freckles) ในปริมาณใด จึงสามารถทำการรักษาได้ และได้ผลดีที่สุด ?
การรักษากระ (Freckles)  ให้ได้ผลดีควรเริ่มรักษาตั้งแต่กระ (Freckles) ยังไม่ชัด หรือเมื่อรู้ว่าตนเองเริ่มเป็น เนื่องจากหากไม่ทำการรักษาแต่เนินๆ สีของกระ (Freckles) จะชัดขึ้น และกระจายตัวจะยิ่งทำการรักษายากขึ้น และยิ่งสะสมจนชัดขึ้นนั่นเอง หากทำการรักษาตั้งแต่ที่กระ (Freckles)  ยังสีไม่ชัด จะยิ่งทำให้จางลงเร็ว จนอาจมองไม่เห็นเลยได้

ทำความเข้าใจกับกระ (Freckles)
กระเป็นความผิดปกติของเม็ดสีผิว อันเนื่องมาจากพันธุกรรม และการดูแล ดังนั้นกระ (Freckles)  จึงไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เพียงแต่จะทำให้จางลงได้เท่านั้น โดยที่กระ (Freckles) จะจางมากจางน้อย ขึ้นอยู่กับปริมาณของกระ (Freckles)  ความหนาแน่น และการดูแลหลังทำการรักษาว่าดีเพียงใด และมีความเสี่ยงที่จะกลับมาชัดเท่าเดิมหรือไม่พียงเท่านั้น ในบางคน ที่ดูแลรักษาดี และทำอย่างต่อเนื่อง กระ (Freckles) อาจจะจางจนมองไม่เห็นเลยก็สามารถเกิดขึ้นได้

การเลือกครีมบำรุง และครีมกันแดดเพื่อป้องกันการเกิดกระ (Freckles)
การทาครีมบำรุงหรือครีมกันแดด เป็นเพียงการป้องกันไม่ให้กระมีสีเข้มมากขึ้นเท่านั้น เปรียบเหมือนด่านแรกที่ช่วยป้องกันผิวหน้า จากแสงแดดและมลภาวะ ซึ่งเป็นตัวการในการทำให้เกิดกระ (Freckles) การเลือกผลิตภัณฑ์จึงมีความสำคัญมาก เริ่มต้นจากการเลือกครีมกันแดดที่มี SPF50 PA ++ ทั้งนี้เมื่อครีมกันแดดมี SPF ยิ่งเยอะยิ่งทำให้หน้ามันมากขึ้น จึงควรเลือก ครีมบำรุงที่มีส่วนผสมของครีมกันแดด เพื่อป้องกันผิวจากแสงแดดด้วย และควรเติมครีมกันแดดทุก 2 ชั่วโมง เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการคุ้มครองและป้องกันผิวจากแสงแดด

วิธีดูแลรักษากระ (Freckles) ให้ได้ผล
1.ใช้ยา หรือ Skin Care ในการทาเพื่อลดกระ (Freckles)

ใช้ยาหรือครีมบำรุงผิวที่มีส่วนผสมของเรตินอยด์หรือวิตามินเอจะช่วยให้กระ (Freckles) จางเนื่องจาก เรตินอยมีส่วนในการช่วยผลัดเซลล์ผิว อีกทั้งการใช้ ไฮโดรควิโนนเพื่อช่วยในการปรับสีผิวและลดการสร้างเมลานิน โดยวิธีนี้จะทำให้กระ (Freckles) บนใบหน้าจางลงได้ ทั้งนี้การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีเรตินอยและ  ไฮโดรควิโนนควรอยู่ในการดูแลของแพทย์เนื่องจากมีอันตรายในการผลัดเซลล์ผิว

2.การผลัดเซลล์ผิว
การผลัดเซลล์ผิวด้วยวิธีการต่างๆ วิธีนี้หากทำไม่ถูกวิธีจะส่งผลให้ผิวหน้าบางได้ หากอีกทั้งการดูแลหลังจากการผลัดเซลล์ผิวก็สำคัญ จึงต้องทำการดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญเท่านั้นหากต้องการผลัดเซลล์ผิวด้วยกรดผลไม้ต่างๆ

กระ คืออะไร

กระ คืออะไร รักษาอย่างไร

ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับสภาพผิวของแต่ละบุคคล

3.การใช้เลเซอร์รักษา
การใช้เลเซอร์เพื่อรักษากระนั้น เลเซอร์จะช่วยในการทำลาย เม็ดสีเมลานิน บนชั้นผิว โดยการทำให้เม็ดสีเมลานินนั้นเกิดการแตกตัว และสลายออก พร้อมยับยั้งและชะลอการเกิดเม็ดสีเมลานินเพื่อให้กลับมามีสีชัดได้ช้ากว่าปกติโดยจะสามารถรักษากระลึกและกระตื้นได้เป็นอย่างดี

ซึ่งวิธีการรักษากระตามที่กล่าวมาข้างต้น สามารถเข้ารับการรักษาได้ที่รัสมิ์ภูมิคลินิกทุกสาขา

ลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษ

เมื่อลงทะเบียนถือว่าท่านยอมรับ ข้อตกลงและเงื่อนไข และ นโยบายความเป็นส่วนตัว